BOA New Chapter Go Beyond

การจัดงาน “New Chapter Bangkok OA Coms go……beyond!”

“บทใหม่ของ บริษัท กรุงเทพ โอเอ คอมส์  (BOA) ก้าวข้ามสู่ยุค นวัตกรรมอัจฉริยะ”

วันที่ 27 กันยายน 2565 ณ ห้องคริสตัลฮอลล์ ชั้น 3 โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล เวลา 8.00 น. – 16.45 น.

 

  บริษัท กรุงเทพ โอเอ คอมส์ จำกัด (เป็นบริษัทในเครือ กรุงเทพธุรภัณฑ์ กรุ๊ป) หนึ่งในผู้นำด้านการจัดจำหน่ายระบบและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร อันดับต้นๆ ของประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนามาตลอดระยะเวลากว่า 33 ปี โดย นางสาว กรรณิกา บุตรขวัญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพ โอเอ คอมส์ จำกัด ได้กล่าวว่า บทบาทหน้าที่ของ กรุงเทพ โอเอ คอมส์ ได้เปลี่ยนไปแล้ว “A new chapter begins” ด้วยการจับมือร่วมกับพันธมิตรแบรนด์ชั้นนำที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและขยายฐานลูกค้า โดยได้จัดงานแสดงสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ทันสมัยต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), เทคโนโลยีวีดีโอแบบ Deep Learning, เทคโนโลยีด้านพลังงานและความร้อน (Thermal) รวมทั้งระบบกลไกอัตโนมัติ (Robotic) และ การส่งสัญญาณภาพ (Data Transmission) ทั้งไร้สายและมีสาย มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ระบบรักษาความปลอดภัยในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น

             นอกจากนี้ในงานได้มีการจัดแสดงสินค้า เพื่อนำเสนอ “นวัตกรรมอัจฉริยะ แห่งโลกยุคใหม่” ทางเลือกใหม่ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จากหลากหลายแบรนด์ชั้นนำมากกว่า 17 บูธ เช่นระบบกล้องวงจรปิด จากบริษัท Hanwha Techwin (ประเทศเกาหลีใต้) ภายใต้แบรนด์  Wisenet และ แบรนด์น้องใหม่อย่าง Holowits จากบริษัท Holowits Technologies (ประเทศสิงคโปร์) กับคำว่าที่ว่า ทุกสิ่งรับรู้ได้ในโลกอัจฉริยะ ด้วยการทำงานของกล้อง CCTVกับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และโซลูชั่นที่ชาญฉลาด สามารถยกระดับระบบรักษาความปลอดภัยให้กลายเป็นระบบอัจฉริยะได้อย่างน่าสนใจ

             นอกจากนี้ยังมี ซอฟต์แวร์บริหารจัดการ Video Management System (VMS) เป็นแพลตฟอร์ม ของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทั้งระบบที่ครอบคลุมทั้ง กล้องวงจรปิด, อุปกรณ์ Access Control, Video Analytic รวมถึงการบันทึกภาพทั้งใน Storage และ Cloud โดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ภายใต้แบรนด์ Digifort (ประเทศบราซิล) และแบรนด์ Nx Witness (ประเทศสหรัฐอเมริกา) นอกจากระบบกล้องและซอฟต์แวร์บริหารจัดการแล้วยังมีแบรนด์ Seagate (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ที่เป็นผู้นำด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้วยเทคโนโลยีการจัดเก็บที่มีความคงทน และ ทำงานรวดเร็วมาร่วมแสดงในงานอีกด้วย

             ในงานจะมีบริษัทที่เป็นเทคโนโลยีพาร์ทเนอร์ เช่น บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำ อุปกรณ์สมาร์ทบอร์ด Smart Board Idea Hub ที่เหมาะใช้ในการประชุมทางไกล รวมถึง อินเวอร์เตอร์ (Inverter) สำหรับงานโซล่าเซลล์ และนำซูโลชั่นบริหารจัดการ Smart Campus ที่สามารถจัดการอุปกรณ์ต่างๆภายในอาณาบริเวณอีกด้วย นอกจากนี้จะมีบูทแสดงการเชื่อมต่อสัญญาณชนิดต่างๆ จากผู้ผลิตชั้นนำอย่าง บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ Radwin Ltd.

             ภายในงาน ยังได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาบรรยาย ใน 2 หัวข้อที่น่าสนใจ คือ “AI ฉลาดอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย PDPA” โดย คุณอมรเชษฐ์ จินดาอภิรักษ์ (คุณทาโร่) ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Easy PDPA ซึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว แต่ยังมีหลายองค์กรที่ยังไม่ทราบวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ กรณีนำระบบปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงาน การเก็บข้อมูล ภาพ เสียง หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบรักษาความปลอดภัย จะต้องมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับผู้ปฏิบัติที่รับผิดชอบดูแลระบบข้อมูลขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง

             นอกจากนี้ยังมีการบรรยาย อีกหัวข้อที่น่าสนใจ คือ “โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับอนาคต” (Digital Infrastructure for the future and beyond) ซึ่งจะเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจกับการเชื่อมสัญญาณดิจิทัลด้วยสายสัญญาณ หรือ ระบบไร้สาย ผู้ปฏิบัติควรเลือกใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสมกับองค์กร บรรยาย โดย คุณประภาส ลิ่มกังวานมงคล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ชำนาญด้านระบบสายสัญญาณ และ คุณธนดนย์ มั่นคง Professional Services Manager APAC ของ Radwin Ltd. ผู้ชำนาญด้านระบบส่งสัญญาณไร้สาย ในการบรรยายช่วงที่สองนี้จะดำเนินรายการโดย คุณสร้างรัฐ หัตถวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินสไปร์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด การบรรยายทั้งสองหัวข้อนี้เป็นประโยชน์กับองค์กรที่ปรับตัวเตรียมความพร้อมเพื่อปรับปรุงองค์กรสู้โลกแห่งอนาคตต่อไป ทางผู้จัดงานได้เล็งเห็นถึงการเพิ่มจำนวนของอุปกรณ์ประเภท Internet of things (iot) ที่มีการนำมาใช้งานเพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด จึงเห็นว่า องค์กรควรเตรียมความพร้อมในการรองรับโครงสร้าง และ เครือข่ายดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป